กลยุทธ์และยุทธศาสตร์
กลยุทธ์
กลยุทธ์ ด้านการค้าการลงทุน
1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการค้าการลงทุน
2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการค้าการลงทุนของจังหวัด
3) เพิ่มศักยภาพและยกระดับมาตรฐานแรงงานเพื่อส่งเสริมการมีงานทำและขีดความสามารถในการแข่งขัน
4) ยกระดับมาตรฐานการผลิต และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในสาขาบริการ การอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ SMEs
กลยุทธ์ ด้านการเกษตร
1) จัดการความรู้การทำการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้แก่บุคลากรภาคการเกษตร
2) ปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร
3) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
4) สร้างมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/เกษตรอินทรีย์
5) ส่งเสริมการแปรรูปและการจำหน่ายสินค้าเกษตรในทิศทางเกษตรอุตสาหกรรม
กลยุทธ์ ด้านการท่องเที่ยว
1) พัฒนาและใช้ฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ
2) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่
3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว
4) ยกระดับมาตรฐานการให้บริการ และพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
5) จัดทำและดำเนินการตามแผนการตลาดด้านการท่องเที่ยว
กลยุทธ์ ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
1) ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในทุกภาคส่วนและทุกระดับผ่านกลไกภาครัฐและกลไกทางสังคมของจังหวัด
2) ยกระดับมาตรฐานด้านการศึกษาของคนอุดรธานี
3) ยกระดับมาตรฐานด้านการสาธารณสุขของคนอุดรธานี
4) สร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านชุมชนด้วยกระบวนการแผนหมู่บ้านชุมชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5) การบริหารจัดการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อย่างเป็นระบบเพื่อเชื่อมโยงกลไกระวังภัยทางสังคมให้มีความเข้มแข็ง
6) สร้างเสริมความสงบสุขและความสามัคคีให้สังคมตามหลักการประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
7) เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานตามแผนและการบูรณาการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตลอดจนการจัดระเบียบสังคมผ่านกลไกศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด
8) เพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมผ่านกลไกคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัด
9) เพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กลยุทธ์ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) พัฒนาและบูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศที่สามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงได้ทุกกลุ่มผู้ใช้
2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพัฒนาองค์ความรู้ศักยภาพคนในทุกภาคส่วน
3) ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าแบบบูรณาการ
4) บริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการเพื่อเป็นฐานรองรับการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
กลยุทธ์ ด้านการบริหารจัดการจังหวัดแบบบูรณาการ
1) มุ่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงยุทธศาสตร์และการบริหาร
2) จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคล (HRD PLAN/HRM) ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุดรธานีโดยมุ่งเน้นสร้างค่านิยม UDON TEAM และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
3) มุ่งพัฒนากลไกและระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการให้มีความเชื่อมโยงและมีประสิทธิภาพตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา ดังนี้
1. การก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม ถนนลูกรัง คอนกรีต
2. ทำการขยายเขตไฟฟ้าแสงสว่างให้ทั่วถึง
3. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
4. ก่อสร้างระบบการระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและความเข้มแข้งของชุมชน ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. ส่งเสริมอาชีพ การลงทุนและการออมให้ชุมชน
2. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร
3. ส่งเสริมศักยภาพของชุมชน การมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารและการปกครอง ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และท้องถิ่นเพื่อการบริการและแก้ไขปัญหาของประชาชน
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของ อบต.ดงเย็น
3. ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ อบต.ดงเย็น
4. พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา และสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาดังนี้
1. สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์และการศึกษาอื่น ๆ
2. การป้องกันและส่งเสริมสุขอนามัยชุมชน
3. ส่งเสริมด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคม ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. ส่งเสริมสวัสดิการ ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ฯลฯ
2. ส่งเสริมและพัฒนาด้านสตรีและครอบครัว
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหายาเสพติดในชุมชน
4. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการกีฬา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. ส่งเสริมและพัฒนาการกีฬา
2. ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น